โรคหลงตนเอง โรคระบาดของคนในสังคมยุคใหม่ มาเช็คกันเถอะ ว่าคุณหลงตนเองอยู่หรือป่าว?
การมีความมั่นอกมั่นใจที่เรามีอย่างล้นหลามเนี่ยมันก็ดี แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ที่จริงมันดีมากน้อยแค่ไหน? ถ้าคุณอยากรู้คำตอบ วันนี้เรามีบทความดีๆ มาให้คุณได้อ่านดู ไม่แน่นะ บทความนี้ อาจจะทำให้คุณเข้าใจอะไรๆ ในสังคมนี้มากขึ้นก็ได้
ภูมิใจได้แต่อย่าให้มากถึงขนาดหลงตัวเอง…เพราะความหลงตัวเองนั้น
ทำลายคนเก่งมานักต่อนัก ยิ่งคิดว่าตัวเองดีเลิศเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมองไม่เห็นหัวคนอื่น
ถ้าเรามองโลกแบบตรงไปตรงมาก็จะเห็นว่า แทบจะเป็นไปไม่ได้ ที่คนหลงตัวเองจะไม่คิดดูถูกคนอื่น
แล้วนิสัยดูถูกคนอื่น ก็จะนำมาซึ่งนิสัยที่ชอบเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
เมื่อนิสัยชอบเปรียบเทียบมาถึง คราวนี้มันก็จะพานิสัยที่ชอบตัดสินคนอื่นติดมาด้วย
คนนั้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่ฉลาด ทำแบบนั้นไม่ดี ทำแบบนี้ก็ไม่เข้าท่า
คนหลงตัวเองจะเริ่มเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นเทวดาน้อยๆ ผู้ไม่เคยทำอะไรผิด เริ่มติดกับความเก่งของตนเอง
เริ่มติดกับความสำเร็จที่มีอยู่ เริ่มทำตัวเป็นคนธรรมดาที่ไม่สำคัญไม่เป็น
ทั้งหมดนี้คือภัยคุกคามมิตรภาพ และความสุขในชีวิตของตนเอง และคนรอบข้าง
อันที่จริงแล้ว ยิ่งเป็นคนเก่งเท่าไหร่ ยิ่งต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนเท่านั้น
ความอ่อนน้อมนี่เองจะสามารถถ่วงน้ำหนัก ทำให้เท้าของเราให้ติดดินไม่ลอยขึ้นฟ้า
ยิ่งเป็นคนเก่งเท่าไหร่ ยิ่งต้องระวังความหลงตัวเอง ที่มันคอยจะแว้งกัด ความหลงตัวเองไม่ใช่อะไรที่โง่เขลาเลย
มันไม่ใช่อะไรที่เราจะอวดดีและประมาทได้ ตรงกันข้าม มันมีความเฉียวฉลาดกว่าเราหลายเท่า
คนที่อิ่มในตัวเอง ไม่จำเป็นต้องพูดบอกใครต่อใครว่าฉันอิ่ม
แต่คนที่ขาดต่างหาก ต้องอวดเพื่อสร้างเกราะกำบังให้คนอื่นไม่รู้ว่าฉันขาด
ในทางจิตวิทยาจึงบอกว่า… ใครชอบอวดอะไร ลึกๆ คือ เคยขาดสิ่งนั้นมาก่อน
ยิ่งอวดมากเท่าไหร่ ในใจจะเหมือนมีพายุที่ไม่มีวันสงบสิ้นได้ซักที ความสุขปลอมๆของขี้อวด
คือ ได้รู้สึกเหนือกว่าใครซักคน ในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เช่นนั้นแล้วมีหรือที่เราจะเป็นขี้ข้าของมันมาได้เนินนานเพียงนี้
การเห็นคุณค่าของตัวเองนั้นไม่ผิด และเป็นเรื่องชอบธรรมที่ควรทำ
แต่อย่าให้มันลุกลามถึงขนาดทำให้เรากลายเป็นคนหลงตัวเอง
เพราะคนหลงตัวเองก็คือคนแพ้ตัวเอง คนที่แพ้ตัวเองก็คือคนที่แพ้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ชนะคนเป็นแสนล้านถ้าแพ้ตัวเองเสียแล้วก็เป็นอันว่าจบเห่
แหล่งที่มา: scopeposts.com
ขอขอบคุณที่มาจาก : https://www.share-si.com/2018/12/blog-post_52.html